Tag Archives: โคมไฟตกแต่งบ้าน

โคมไฟ LED

 

โคมไฟจากแก้วพลาสติก (my home)
คอลัมน์ my handy
เรื่อง อุ้ม เชาวนปรีชา
ภาพ/สไตล์  อุ้ม เชาวนปรีชา,  ยศวัฒน์ เกษมถิรกุล

ใครนึกสนุกอยากทำ โคมไฟ ใช้เองบ้างครับ วันนี้ผมอาสามาสาธิตการทำ โคมไฟ ในราคาประหยัด ในรูปแบบที่ผมถนัด ด้วยวิธีการไม่ยากตามหลักพื้นฐานการต่อวงจรไฟฟ้าที่เรา ๆ เคยเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์สมัยเด็ก ๆ นั่นล่ะครับ ค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ผมรับรองว่าคุณผู้อ่านจะสนุกและติดใจแน่ ๆ ครับ

โคมไฟ LED

 

อุปกรณ์

1. ปืนกาว หัวแร้ง และคีมหนีบ

2. แก้วพลาสติก ซื้อจาก Tops จำนวน 3 แพ็ค (ถ้าทำสองโคม ใช้ 5 แพ็ค)

3. คลิปหนีปกระดาษขนาด ราคากล่องละ 144 บาท จำนวน 2 กล่อง

4. หลอด LED 7 สี พร้อม resister และสายไฟ 20 ตัว

5. หม้อแปลงไฟ

– หม้อแปลงไฟ 12 โวลท์ (แปลงจาก 220v เป็น 12v) 1 ตัว ตัดปลายสายออก

– ที่หนีบสายไฟสีดำ, แดง อย่างละ 1 ตัว ต่อที่ปลายสายหม้อแปลง

6. หลอดไส้ 25 วัตต์ 1 หลอด พร้อมขั้วหลอด

7. สายไฟขนาดต่าง ๆ และเทปพันสายไฟ

– สายไฟเส้นเล็กสำหรับ LED 12v ขายเป็นมัด คละสี มัดละ 5-10 บาท

– สายไฟบ้าน อย่างน้อย 1 เมตร

8. หัวปลั๊ก

– หัวปลั๊กตัวผู้ 1 ตัว

– หัวปลั๊กตัวเมีย 2 ตัว

9. ไฟคริสมาสต์แบบที่เป็น LED 1 เส้น หรือไฟดาวตก

10. ฐานไม้อัด (หนา 14 มิลลิเมตร) สั่งตัด ทาสีเตรียมไว้ให้เรียบร้อย

โคมไฟ LED

 

ขั้นตอนการทำ

1. เจาะรูบริเวณกึ่งกลางด้านก้นแก้วด้วยหัวแร้ง ให้ความกว้างของรูพอดีกับขนาดของหลอด LED

2. นำแก้วมาเรียงต่อกันบนพื้นระนาบ ใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบบริเวณที่ปากแก้วให้ชนกัน ติดไปเรื่อยๆจนแก้วต่อกันเป็นวงกลม (ใช้แก้วประมาณ 26-28 ใบ)

3. ติดแก้วชั้นที่ 2 เรียงแก้วบนรอยต่อของแก้วแถวล่าง โดยวางแก้ว 1 ช่องเว้น 1 ช่อง จนครบรอบวง

4. ติดแก้วชั้นต่อ ๆ ไปโดยเรียงแก้วบนช่องที่ได้ขนาดไปเรื่อย ๆ จนเป็นรูปทรงโดม

5. ปลดขาคลิปหนีบกระดาษออกทั้งหมด

โคมไฟ LED

 

6. ติดไฟด้านในโดม

6.1 พลิกด้านโดม กำหนดจุดที่จะติดหลอด LED 7 สี ไว้ 20 จุด ให้กระจายไปทั่ว ๆ โคม นำหลอด LED เสียบลงในรู ยึดด้วยปืนกาวให้แน่น

6.2 ต่อสายไฟ LED แบบขนาน เชื่อมสายขั้วบวกกับสายขั้วบวก สายขั้วลบกับสายขั้วลบ (ในกรณีนี้คือ เชื่อมสีเดียวกันเข้าด้วยกัน) โดยต่อเรียงทีละหลอดจนครบทุกหลอด พันเก็บสายไฟให้เรียบร้อย ยกเว้นหลอดแรกไม่ต้องพัน

6.3 นำไฟคริสมาสต์เสียบลงในรูที่เหลือจนครบทุกรู จำนวนหลอดไฟคริสมาสต์อาจมีมากกว่าจำนวนแก้ว ไฟที่เหลือให้พันซ่อนไว้ภายในโคม

6.4 ต่อสายหม้อแปลงไฟกับ LED โดยใช้ที่หนีบสายไฟหนีบกับสายของ LED หลอดแรก หากไฟไม่ติดให้ลองสลับขั้วตัวหนีบดู

โคมไฟ LED

 

7. ต่อหลอดไฟบ้านและวงจรสวิตช์ ขั้นตอนนี้หากไม่ชำนาญด้านวงจรไฟฟ้าแนะนำให้ปรึกษาช่างครับ

8. ติดหลอดไฟบนกึ่งกลางของฐานไม้อัดที่สีแห้งแล้ว เดินสายไฟและใส่แผงสวิตช์ลงในช่องที่เจาะไว้

9. ลองเสียบปลั๊ก เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โคมไฟ LED

 

Tips

–     ใช้ไฟดาวตกแทนไฟคริสมาสต์จะได้ความรู้สึกโรแมนติกมากกว่า

–     วางโคมลงบนฐานไม้โดยไม่ต้องทำการยึดติด เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนหลอดไฟ

–     ถ้าซื้อไม้อัดเต็มแผ่น ไม้จะเหลือพอทำฐานโคมไฟขนาดสูง 120 เซนติเมตร ได้อีก 1 ชุด

ลองทำกันดูนะครับ อาจดูยุ่งยากนิดหน่อยแต่เมื่อทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผมว่าคุณจะภาคภูมิใจและไม่แน่อาจเกิดไอเดียต่อยอดทำ โคมไฟ ดีไซน์ต่าง ๆ ได้อีกนะครับ

 

Credit by : http://home.kapook.com/view47507.html

วิถีน้ำมันกำลังจะขึ้นราคาอีก (หลาย) รอบ อะไรที่ประหยัดได้ต้องประหยัด จะคิดอ่านดีไอวายสิ่งใดก็ต้องประหยัดสุดเหวี่ยง เพราะหมดเรี่ยวแรงทำการสิ่งใดที่ต้องใช้สะตุ้งสตางค์ มองไปรอบบ้านแล้วคิดได้ว่าชวนคนอ่านมาจัด (หลอด) ไฟในบ้านใหม่ดีกว่า ได้ทั้งบ้านใหม่ได้ทั้งมูดใหม่ แถมเผลอๆ ก็ได้ช่วยประหยัดงบค่าไฟฟ้าในบ้านอีกหลายตังค์

 

เรื่องของหลอด (ไฟ)

 
ภัทริก สัมพันธารักษ์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บริษัท ฮาเวลส์ ซีลวาเนีย (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในโลกปัจจุบันหลอดไฟไม่เพียงเป็นอุปกรณ์ให้แสงและสีสันในห้อง หากเป็นอะไรที่มากกว่านั้นเยอะ หลอดไฟที่ดีช่วยประหยัดเงิน ช่วยสร้างบรรยากาศ และช่วยถนอมสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้นการเลือกหลอดไฟให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ยังทำให้เจ้าของได้ใช้ประโยชน์จากห้องอย่างเต็มที่ ที่สำคัญก็ยังทำให้เจ้าของห้องคนเก่ง ได้ช่วยประหยัดพลังงานลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย โลกยุคพลังงานแพง ต้องมาช่วยกันเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดพลังงาน มีเคล็ด (ไม่) ลับสำหรับคนอยากเปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดตะเกียบ กรณีอยากรู้ว่าหากต้องการแสงเท่าเดิมจะต้องซื้อหลอดตะเกียบขนาดกี่วัตต์ ให้ใช้สูตร 5 หาร เช่น เคยใช้หลอดไส้ 100 วัตต์ ก็เอา 5 หาร 100 ได้เท่ากับ 20 นั่นหมายความว่าคุณต้องซื้อหลอดตะเกียบขนาด 20 วัตต์ นั่นเอง (ถ้าหารแล้วมีเศษให้ปัดลง)

 

เคล็ดลับจากซีลวาเนีย

 

เลือกหลอดไฟให้ 7 ห้อง ในบ้านอย่างมืออาชีพ

 

1.ห้องนอน เป็นห้องสำหรับพักผ่อน จึงควรเป็นบรรยากาศแบบสบายๆ ไม่ต้องมีแสงสว่างมากนัก เลือกหลอดไฟแบบคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ชนิดที่ให้แสงออกเหลืองอ่อน (Warm White) ช่วยทำให้ห้องอบอุ่น โดยปกติห้องนอนจะมีจุดให้แสงสว่างหลักคือ โคมไฟหัวเตียงฝั่งซ้ายขวา เพื่อใช้ทำกิจกรรมเล็กน้อยก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ สำหรับห้องนอนที่มีทีวีอยู่ปลายเตียง ควรติดตั้งดาวน์ไลต์ ขนาด 11 วัตต์ บริเวณปลายเตียงอีก 1 ดวง เพื่อช่วยตัดแสงจากหน้าจอโทรทัศน์

 

2.ห้องแต่งตัว เป็นห้องที่ต้องการแสงสว่างที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด เนื่องจากมีผลต่อการเลือกสีของเสื้อผ้าหรือการแต่งหน้าของสาวๆ เจ้าของห้อง ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นสาวแต่งหน้าเว่อร์ ดูหลอนเป็นที่สุด แต่ก่อนหลอดไฟห้องแต่งตัวนิยมใช้หลอดฮาโลเจน (หลอดไส้) เพราะให้แสงธรรมชาติ 100% แต่ปัจจุบันแนะให้เลือกใช้หลอดประหยัดไฟคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ mini lynx หรือ mini twister ขนาด 7 วัตต์ ซึ่งให้แสงสว่างเทียบเท่ากับหลอดฮาโลเจนขนาด 40-50 วัตต์ และมีค่าความถูกต้องสีของแสงมากกว่า 80% ขึ้นไป อีกทั้งยังกระจายแสงได้มากกว่าหลอดตะเกียบถึง 10%

 

สำหรับคุณผู้หญิงที่มีโต๊ะเครื่องแป้ง ควรติดตั้งหลอดไฟคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ แบบ T5 ไว้ด้านบน และเสริมด้วยหลอดฮาโลเจนไว้ด้านข้างทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้เกิดความสมดุลของแสง กล่าวคือ ถ้าเป็นการแต่งหน้ามาทำงานในเวลากลางวัน การใช้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลัก จะช่วยให้สีสันบนใบหน้าไม่จัดจ้านเกินไปเมื่อต้องมาเจอแสงไฟในออฟฟิศส่วนใหญ่ซึ่งเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์เช่นเดียวกัน

 

ส่วนงานกลางคืนขอให้ใช้ไฟจากหลอดฮาโลเจนเป็นหลัก เนื่องจากงานกลางคืนส่วนใหญ่จะประดับประดาด้วยหลอดฮาโลเจน การแต่งหน้าโดยใช้แสงจากหลอดฮาโลเจนเหมือนกัน จึงช่วยให้ใบหน้ามีสีสัน ไม่ซีดหรือจางเกินไปเมื่อเจอกับแสงไฟในงาน

 
3.ห้องรับแขก หรือห้องนั่งเล่น ห้องนั่งเล่นเป็นมุมโปรดของใครหลายคนในบ้าน ถือเป็นมุมผ่อนคลายที่การให้แสงหรือสีในห้องจะเน้นที่ความรู้สึกสบายตาสบายใจ ส่วนห้องรับแขกก็เป็นส่วนต้อนรับของบ้าน แสงควรอบอุ่น การเลือกหลอดไฟสำหรับสองห้องนี้เน้นที่แสงขาวนวลถึงเหลือง ติดหลอดไฟคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ แบบ T5 ดีที่สุด

 

สำหรับไฟในห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขกมีเคล็ดลับการติดตั้ง ควรให้หลอดไฟฉายแสงส่องกระทบกับผนัง ซึ่งช่วยทำให้ห้องดูกว้างขึ้น หรือจะเพิ่มบรรยากาศให้กับห้องด้วยการติดตั้งโคมไฟแบบอินไดเรกต์ ไลต์ (In direct light) หรือไฟส่องกระทบฝ้า เช่น โคมไฟ Cielo 300 ให้แสงสว่างกระจายขึ้นด้านบน มองแล้วสบายตาสุดๆ เพราะหลอดไฟป้องกันแสงจ้าส่องเข้าตา

 

4.ห้องทำงาน แสงที่เหมาะควรเป็นแสงขาวนวล สังเกตดูว่าในสถานที่ทำงานหรือออฟฟิศโรงงานต่างๆ มักใช้หลอดไฟขาวเป็นหลัก สาเหตุก็เพราะต้องการสร้างบรรยากาศการทำงานนั่นเอง หลีกเลี่ยงการใช้แสงสีเหลืองอ่อนเนื่องจากแสงเหลืองเหมาะกับห้องที่ใช้ผ่อนคลายมากกว่า กลัวว่าติดไฟสีเหลืองไว้ในห้องทำงานแล้ว เจ้าของห้องจะไม่ยอมทำงานน่ะสิ ที่เหนือโต๊ะทำงานควรมีการติดตั้งหลอดไฟดาวน์ไลต์ที่ให้แสงสว่างกระจายไปทั่วห้องได้ รวมทั้งบนโต๊ะทำงานควรมีโคมไฟตั้งโต๊ะ เพื่อให้แสงเพิ่ม และกลบเงาจากดาวน์ไลต์นั่นเอง

 

5.ห้องครัว ห้องครัวไทยแบบแกง-ต้ม-ผัด-ทอด ควรเลือกใช้โคมไฟดาวน์ไลต์แบบมีกระจกปิดเพื่อป้องกันฝุ่น ควัน และความชื้น เช่น โคมไฟ Wall lynx หรือหลอดคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ แบบ T5 ที่มีค่า IT 44 ขึ้นไป (วิธีเลือกซื้อหลอดไฟชนิดนี้ ให้สังเกตตัวเลขทั้ง 4 ตัว ที่ติดมากับหลอด โดย 4 ตัว แรกหมายถึงค่าป้องกันฝุ่น และ 4 ตัว หลังหมายถึงค่าป้องกันความชื้นและน้ำ)

 

ห้องครัวหรือห้องประกอบอาหาร นิยมใช้แสงสีขาวนวลถึงเหลือง ติดหลอดไฟเพื่อให้แสงสว่างเป็นจุดๆ ตามที่ต้องการใช้งาน เช่น ติด T5 บนฝ้าเหนือบริเวณเตาแก๊ส เพื่อให้แสงสว่างเวลาประกอบอาหาร อย่าลืมเลือกหลอดแบบมีกระจกครอบ เพราะเวลาเจอเข้ากับควันหรือน้ำในการประกอบอาหาร ความชื้นและคราบเขม่าลอยฟุ้งไปเกาะขั้ว อายุการใช้งานหลอดจะหดลงไม่ถึงครึ่งของอายุการใช้งานจริง

 

6.ห้องรับประทานอาหาร ห้องแห่งรางวัลของชีวิต-บางคนก็เรียกอย่างนี้ เป็นห้องที่ผู้รู้ด้านจิตวิทยาครอบครัวแนะนำว่า ไม่ควรมีโทรทัศน์อยู่ในห้อง เพราะแทนที่สมาชิกในครอบครัวจะคอนเนกชัน สังสรรค์ปฏิสัมพันธ์กัน ก็กลายเป็นไปจดจ่อกับจอโทรทัศน์แทน นอกจากนี้การรับประทานอาหารหน้าจอแบบกินไปดู (โทรทัศน์) ไป ทุกคราวคำจิตใจไปมุ่งที่โทรทัศน์ กลายเป็นคนอ้วนที่กินอย่างไร้สติ (ว้าย!)

 

ควรมีโคมไฟสีออกเหลืองนวล ชนิด Fresco 300, Fresco 400 หรือ T5 แขวนอยู่ตรงกลางโต๊ะอาหาร ซึ่งช่วยเพิ่มความอยากอาหาร และช่วยเพิ่มแสงสีให้อาหารดูน่ารับประทานมากขึ้น ทั้งนี้ควรเป็นหลอดกลมเนื่องจากกระจายแสงได้ทั่วถึง อาจเพิ่มโคมไฟลอยที่ผนังด้วย เพื่อเพิ่มบรรยากาศความอบอุ่นและทำให้ห้องมีมิติ

 

7.บริเวณรอบตัวบ้าน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่น้อย ช่วงนี้เศรษฐกิจตกสะเก็ด โจรลักเล็กขโมยน้อย ตัดช่องย่องเบาเพิ่มจำนวนอย่างน่ากลัว รถจอดไว้ในบ้าน พวกยังปีนเข้ามาถอดเอาแบตเตอรี่ไปหน้าตาเฉย ป้องกันได้ด้วยการตามไฟไว้เป็นระยะรอบตัวบ้าน โดยระยะห่างของไฟที่ได้ผลคือ 3-4 เมตร ซึ่งให้แสงทั่วถึง สว่างเพียงพอ

 

การเลือกหลอดไฟที่ใช้ตามไฟในบ้าน ควรเลือกโคมไฟชนิดหลอดแบบคอมแพกต์ ฟลูออเรสเซนต์ แบบ 3-5 วัตต์ ทั้งนี้ต้องเลือกชนิดที่มีกระจกปิด เช่น หลอดไฟ LED, หลอด Micro lynx ซึ่งมีค่า IT ป้องกันฝุ่นและความชื้นตั้งแต่ 54, 55 และ 65 ขึ้นไป มีซีลยางป้องกันน้ำและแมลง หลอดไฟประเภทนี้อายุการใช้งานนานถึง 5 หมื่น-1 แสนชั่วโมง

 

Credit By : http://www.flower-light.com/home.php?section=article&categorie=learning&article=make-your-home-change-with-lamp

ว้าว! กลับมาอีกแล้วครับวันนี้ไปเจอการสอนทำ โคมไฟ  ด้วยกระดาษปอนด์มา ง่ายๆแต่น่ารักดี ผมจึงได้นำเกล็ดความรู้มาฝาก เขียนโดย คุณเฉาก๊วยน้ำตาลทรายแดง ในคอลัมน์ DIY ต้องขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับ เทคนิคน่ารักๆแบบนี้ครับ

โคมไฟ

 

ลุงข้างบ้านฟื้นวิชาดีไซน์สมัยเรียน แนะนำทำ โคมไฟ เก๋ๆ จากกระดาษปอนด์…
ลุงบอกว่า กระดาษปอนด์แข็งพอและมีคุณสมบัติกรองแสงไว้ครึ่งหนึ่ง หากตัดขึ้นรูปเป็น 3 D หรือ 3 มิติ จะกักและปล่อยแสงได้เงาสวย
เตรียมอุปกรณ์กันก่อน หลักๆ ได้แก่ กระดาษ 100 ปอนด์อย่างดี (แผ่นละ 40 บาท) คัตเตอร์ แผ่นรองตัด ฟุตเหล็ก กาวยางน้ำแบบหลอด (UHU แห้งเร็ว) และชุดหลอดไฟ ประกอบด้วย หลอดไฟ  ขั้ว สาย และสวิตช์ปิด-เปิด ในโฮมโปรมีขายแบบเกือบสำเร็จ (รวมราคาประมาณ 50-60 บาท)
วิธีทำ

1.  ขึ้นโครงตัว โคมไฟ ในที่นี้ออกแบบเป็นลูกบอล 5 เหลี่ยม โดยวัดกระดาษ ตัดเป็นเส้นกว้าง 2 นิ้วครึ่ง ยาว 20 นิ้ว ทั้งหมด 11 เส้น อีกเส้นหนึ่งวัดไว้ 3 นิ้วครึ่ง ยาว 20 นิ้ว (สำหรับเป็นฐาน)

2. นำกระดาษที่ตัดเป็นเส้นแล้วกรีดให้เป็นรอยพับด้านเท่า 5 เหลี่ยม แปะกาวให้เป็นวงแหวนทั้งหมด 12 ชิ้น

3. ตัดกระดาษสำหรับเชื่อมวงแหวนแต่ละชิ้น ความหนาเท่าไรก็ได้ แต่ให้ความยาว 4 นิ้ว (พอดีกับความยาวของรูป 5 เหลี่ยม)

4. ค่อยๆ นำวงแหวนมาแปะต่อกัน โดยให้แต่ละด้านแปะเชื่อมกัน ทรงเรขาคณิตจะต่อกันเป็นลูกกลมๆ โดยอัตโนมัติ
5. สุดท้ายนำชุดหลอดไฟ ตั้ง เอา โคมไฟ กระดาษปอนด์ มาครอบทับอีกที…เท่านี้ก็เรียบร้อย
คอลัมน์ DIYโดย เฉาก๊วยน้ำตาลทรายแดง

 

Credit By : http://www.flower-light.com

ในทุกวันนี้ หลอดไฟชนิด LED เข้ามามีบทบาทกับชีวิตเราเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเพิ่มสีสรรให้กับ ทุกวงการอย่างมากมาย ทั้งประโยชน์ในด้านการตกแต่ง และการใช้สอย วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคการเลือกซื้อหลอดไฟ LED ให้กับทุกคนกันนะครับ..

 เทคนิค และวิธีการเลือกซื้อ LED    

หลอดไฟ LED หรือ Light Emitting Diode คือเทคโนโลยีของการส่องสว่างใหม่ กินไฟน้อย ทนทาน ให้ความสว่างสูง เกิดความร้อนต่ำมาก ส่วนแต่ละค่ายก็อาจจะทำLEDออกมาต่างๆกัน และก็ยังเรียกชื่อต่างๆกันไปโดยที่ ไม่มีสถาบันหรือมาตรฐานอะไรรองรับกัน เช่นเรียกว่า LED Super Bright บ้างต่อมาก็ตั้งกันเป็น LED Ultra Bight คือเพื่อให้มันดูเหมือนว่าสว่างกว่า Super Bright และก็มีบางค่ายก็ตั้งเป็น High Bright , Extra Bright , ฯลฯ ก็แล้วแต่จะเรียกกันไป สรุปได้ว่า Ultra Bright ของค่ายนึงอาจสว่างน้อยกว่า Super Bright ของอีกค่ายก็ได้ และ ทำนองเดียวกันอาจสว่างน้อยกว่า LED ธรรมดาที่ไม่มีสร้อยต่อท้ายของค่ายโน้นก็ได้ เพราะไม่มีมาตรฐานอะไร ที่บ่งชี้ไว้ชัดเจนนี่เอง ดังนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อ LED คงไม่ใช่ชื่อที่ตั้งไว้สวยหรูกระมัง แต่น่าจะ พิจารณาจาก

led

 

  • ความสว่างของLED ควรทราบว่าLEDนั้นมีหลายเกรด บางทีโคมยี่ห้อนึงมีจำนวน100หลอดLED แต่อาจสว่างกว่าอีกยึ่ห้อที่มี 200 หลอด LED ก็เป็นได้  ราคาของเม็ด LED มันต่างกันครับ
  • มุมกระจายของแสง อันนี้สำคัญมากควรทราบว่าธรรมชาติของ LED นั้นพุ่งตรงก็แบบที่นำมาทำไฟฉายนั่นล่ะครับ คือพุ่งแต่ไม่กระจาย ดังนั้นเวลาไปใช้ทำไฟทางจริงๆจะสว่างแค่เป็นกระจุก เรื่องกระจายแสงนี้ บางทีอาจจะสำคัญกว่าความสว่างที่จุดใดจุดหนึ่งของLED เสียอีก
  • การกินไฟ ผมได้รับคำถามบ่อยๆว่า LED กี่วัตต์ พอตอบว่ากินไฟ3วัตต์ ก็จะได้รับการตอบกลับจากผู้ถามว่า แล้วมันจะสว่างเหรอ กินไฟเท่านั้น? จริงหรือ?  ผมอยากได้ LED สัก12วัตต์ มีไหมครับ , 20W, ล่ะ?ที่จริงแล้วนั่นเป็นความเข้าใจผิดของผู้ซื้อเองถ้าเป็นหลอดไฟทั่วๆไปเวลาเราพูดถึงการกินไฟเท่าไหร่ นั่นหมายถึงมันยิ่งสว่าง แต่ถ้าเป็น LED แล้วละก็ เทคโนโลยีด้านนี้ไปเร็วมากๆครับ ทุกๆเดือนที่ผ่านไปต้องประเมินกันใหม่ LEDที่ดีนั้นมีแนวโน้มที่จะต้องสว่าง ให้แสงเป็นวงกว้าง และต้องกินไฟให้น้อยที่สุด และแน่นอนว่า บนราคาที่พอยอมรับกันได้ นี่คือเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง เป็นเทคโนโลยีเพื่ออนาคตอย่างแท้จริง ดังนั้นเราอาจสรุปได้ว่า LED ที่กินไฟมากคือ LED ที่ล้าสมัย และส่วนใหญ่ คือมันจะเป็น LED ที่ซื้อมาในราคาถูกจากบ้านหม้อหรือคลองถมเท่านั้น ราคา LED นั้นอาจจะต่างกันมากๆในแบบต่างๆ โดยราคาจะเริ่มที่ราคาเม็ดละไม่ถึง 1 บาท จนกระทั่งเม็ดละ10กว่าบาท หรืออาจจะเม็ดละกว่าร้อยบาทถ้าเป็น LED แบบ High Power และปัจจุบันนี้มีถึงเม็ดละเป็นพันก็มีครับ แต่ใช้เพียงเม็ดเดียวสว่างสุดๆ
  • ความทนทานและความเสื่อม LED บางชนิดนั้นต้องบอกเลยครับว่าดูดี แต่ไม่ทน เนื่องจากข้อจำกัดของ LEDเอง หลอดไฟทุกชนิดเมื่อใช้ไปเรื่อยๆแสงสว่างจะลดลงเรื่อยๆ สังเกตุดูว่าเวลาเราเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ๆจะสว่างมากๆ พอใช้ไปเรื่อยๆจะลดลง LED ก็เช่นกัน แถมยังลดลงมากกว่าหลอด Flourescent อีกด้วย แต่LEDที่ดีปัญหาตรงนี้จะเกิดขึ้นน้อยกว่ามาก

ที่มา: ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก NSThailand

วันนี้มาดูดีไซน์ โคมไฟ จากต่างประเทศกันนะครับ เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าเขาเอาจริงเอาจังกับการออกแบบ โคมไฟ ขนาดนี้ เห็นแล้วก็รู้สึกอดสนุกแทนไม่ได้จริงๆล่ะครับ เพราะแต่และไอเดีย โคมไฟ ของแต่ล่ะท่านนั้น สุดยอดจริงๆ

ตัวแรกนี้เป็น โคมไฟตั้งพื้น  “Alien” by Buro fur Form ผมว่าดีไซน์เขาคล้ายๆลูกอ๊อด , ปลิง ,ทาก หรืออะไรสักอย่าง ก็เก๋แปลกตาดี นอกจากนั้นก็ทำให้บรรยากาศ รอบข้างดูสะอาดสว่างไปด้วย ท่านใดสนใจโคมไฟตั้งพื้น ดีไซน์นี้เข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่

โคมไฟ

ตัวที่สอง น่าจะเรียกได้ว่า โคมไฟผนัง  กับดีไซน์ที่น่าขบขันประหนึ่งว่า เจ้ามนุษย์จิ๋วกำลังปลดพันธนาการตัวเองออกจากกำแพง ดูแล้วก็ฮาดีเหมือนกัน กับ โคมไฟ ของเขา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Martyr
โคมไฟ

ตัวที่สาม ผมรู้สึกชื่นชอบมาก ดีไซน์เนอร์เขาดีไซน์ โคมไฟ ออกมาในลักษณะสีหก ซึ่งสีของถังซึ่งเป็นสีขาว ทำให้สีแดงที่หกออกมานั้นดูโดดเด่นมากทีเดียว ทำเหมือนซะด้วยแฮะๆ จะดีมากถ้าได้เห็นตอนเปิดไฟ ท่านใดสนใจ โคมไฟ ชิ้นนี้ดูเพิ่มได้ที่

“Liquid Lamp”
โคมไฟ
เป็นไงบ้างครับกับ โคมไฟ และไอเดียอันบรรเจิดของแต่ละท่าน จริงๆแล้วยังมี โคมไฟ แปลกๆอีก เอาไว้ผมจะ
มาเพิ่มเติมให้ใหม่ในวันพรุ่งนี้แล้วกันนะครับ วันนี้ผมขอลาไปก่อนครับ

เครื่องดื่มกระป๋องไม่ว่าประเภทใด ยี่ห้อใด รสชาดใด เมื่อเราดื่มน้ำภายในหมดแล้ว ตัวกระป๋องเปล่าก็มักจะถูกโยนทิ้ง หรือนำไปชั่งกิโลขายเพื่อนำไปรีไซเคิล และนำกลับมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใบใหม่น่ะนะคะ

ในวันนี้บล็อก ไอเดียดี ๆ มีวิธีนำส่วนประกอบเล็ก ๆ จากกระป๋องเครื่องดื่มเหล่านั้นมาใช้ในการ ประดิษฐ์ของตกแต่งบ้าน กัน นั่นก็คือการนำเอาแหวนดึงฝากระป๋องมาทำการ โคมไฟ ใบเก่าให้สวยงามเหมือนใหม่นั่นเองค่ะ

โคมไฟแขวน

 

วัสดุอุปกรณ์ก็มีไม่มากค่ะ ได้แก่

  1. แหวนดึงฝาเครื่องดื่มยี่ห้อใดก็ได้ แต่ควรเป็นรูปแบบและขนาดเดียวกัน จำนวนมาก
  2. ปืนกาวร้อน
  3. โคมไฟ ชนิดแขวนแบบโคมที่หุ้มโครงด้วยผ้า หรือโคมพลาสติก
วิธีการทำก็เพียงคุณนำเอาแหวนจากฝาน้ำอัดลมมาทำการเรียงติดบนตัว โคมไฟ โดยติดเรียงกันไปเป็นแถว ๆ
ด้วยปืนกาวร้อน และเรียงต่อขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ให้สวยงาม เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ โคมไฟใบใหม่ ที่มีลวดลายแปลก
ตา แถมยังเป็น โคมไฟ ที่ออกสไตล์โมเดิร์นเหมาะสำหรับบ้านที่ชื่นชอบการตกแต่งบ้านสไตล์นี้อีกด้วยนะคะ
โคมไฟแขวน

โคมไฟ

 

เรื่องของการสร้างจินตนาอย่างง่ายๆ ที่สร้าง โคมไฟ จากไม้ไอติมที่เหลือจากงานประดิษฐ์อย่างอื่น
ที่คุณแม่ให้ตัวเจ้าตัวเล็กเก็บใส่กล่องไว้ จนเจ้าตัวเล็กสงสัยและถามอยู่บ่อยๆ

“ไม่เห็นแม่เอาไปทำอะไรสักที”

คุณแม่ยิ้มเหมือนโดนใจอะไรสักอย่าง “ก็แม่เก็บไว้ ต่อเป็นต้นไม้ด้วยกันไงล่ะ”

“แล้วมันจะเป็นต้นไม้ได้ยังไง” เจ้าตัวเล็กเข้าทางที่คุณแม่ชี้นำเข้าแล้ว

“มา เรามาต่อเป็นต้นไม้กัน” น่าน … เข้าล็อกคุณแม่ เค้าล่ะ !

คุณแม่บอกเจ้าตัวเล็กว่า เราจะสร้าง “ต้นไม้แห่งจินตนาการ” กัน
บอกให้เจ้าตัวเล็กไปหยิบเครื่องไม้เครื่องมือ แล้วชวนคุณพ่อมาช่วยด้วย

เริ่มต้นคุณแม่ให้เจ้าตัวเล็กกับคุณพ่อช่วยกันเขียนรูปต้นไม้ลงในกระดาษ
เป็นต้นไม้ที่ไม่มีใบ เหลือแต่กิ่งก้านที่ยื่นออกไปจากลำต้น
เหมือนในหนังสือนิทานที่คุณแม่เอามาให้ดู เสร็จแล้วก็เอามาเป็นแบบ
โดยคุณแม่เอาไม้ไอติมมาทากาวต่อเป็นลำต้น พร้อมวางตำแหน่งกิ่งใหญ่ไว้ ให้ 4-5 กิ่ง
ระหว่างรอกาวให้แห้ง คุณแมก็ชวนเจ้าตัวเล็กคุย
ถีงต้นไม้ที่จะทำว่าเป็นการนำเอาไม้ไอติมมาต่อกับลำต้นที่แม่ทำตี้ต่างว่าเป็นลำตัว

ต่อไปเราจะมาต่อแขนต่อขาตามที่เราอยากให้เป็น
แต่ต้นไม้จะมีแขนมากแยกออกไปเป็นกิ่งเล็กกิ่งน้อย รับแสงแดดมาช่วยปรุงอาหาร เพื่อให้โตเร็วๆ
คุณพ่อเทเศษไม้ไอติม แยกเป็น 2 กอง คือยาวกับสั้น
เมื่อกาวแห้ง คุณแม่ก็เอาไม้ไอติมทากาวส่งให้คุณพ่อทำเป็นตัวอย่าง แล้วให้เจ้าตัวเล็กทำตาม …

แรกๆ เจ้าตัวเล็กจะถามว่าวางตรงไหนก่อน ตรงนี้ได้มั๊ย ตรงนี้ดีมั๊ย
แม่บอกว่าต่อไปเรื่อยๆ ยังไงก็ได้ตามใจหนู สักพักต้นไม้ก็เริ่มจะเป็นรูปเป็นร่าง … มองเป็นต้นไม้มากขึ้น

ความต้องการของคุณแม่ อยากให้เจ้าตัวเล็กได้ฝึกใช้จินตนาการ
ต่อกิ่งไม้ทีละกิ่ง แล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อยๆ
เปรียบต้นไม้เป็นสมอง กิ่งก้านสาขาเป็นเส้นประสาทที่ต่อขยายเพิ่มขึ้น ตามทักษะ ที่ได้จากการลงมือทำ

โคมไฟ

 

เมื่อเศษไม้ไอติมที่เก็บไว้หมดลง คุณพ่อก็เอาไม้ไอติมใหม่ นำมาตัดสั้นบ้าง ยาวบ้าง สลับกันไป
ส่งให้เจ้าตัวเล็กกับคุณแม่ช่วยกันต่อกิ่งเล็ก กิ่งน้อย
เมื่อเห็นว่าเจ้าตัวเล็กเริ่มจะเบื่อ ก็บอกให้หยุดพัก เก็บเอาไว้ค่อยทำต่อวันหลัง

ว่างเมื่อไหร่ ก็เอามาเก็บเล็กเก็บน้อย ค่อยๆ ต่อทีละกิ่งไม่รีบร้อน กว่าจะเสร็จเป็นต้นที่พอใจก็ทำกันอยู่เป็นอาทิตย์

ขั้นตอนต่อไปก็คือการทำแป้นฐานเพื่อให้ต้นไม้ยืนต้น ตั้งได้
คุณแม่จะใช้ไม้ไอติมมาประกบโคนต้น หน้าหลังข้างละ 3 อัน ทากาวเสริมเป็น 2 ชั้นสลับกัน ให้รับน้ำหนักได้ ไม่ล้ม

โคมไฟ

 

เพื่อให้ต้นไม้แห่งจินตนาการได้งอกงามในใจของเจ้าตัวเล็ก คุณพ่อจึงนำมาต่อยอดทำเป็นกระถ่างในรั้วไม้
เพิ่มตวามมั่นคงและติดหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดขนาด 8 วัตต์ ที่มีความสูงพอดีกับรั้วไม้

โคมไฟ

 

จินตนาการให้เป็นกระถ่างในรั้วไม้ สำหรับติดหลอดไฟตั้งไว้ในห้อง

โคมไฟ

 

ด้วยหวังว่าต้นไม้แห่งจินตนาการต้นนี้ จะจุดประกายให้เจ้าตัวเล็ก
ได้แตกกิ่งสาขาของความคิดสร้างสรรค์และ ความเชื่อมั่นในตัวเอง
คุณแม่จึงเอาไปตั้งไว้บนหัวเตียง ให้เจ้าตัวเล็กได้ภูมิใจ และเห็นในคุณค่าของสิ่งที่ได้ช่วยกันทำ

ขอให้ความหวังของคุณแม่สัมฤทธิ์ผล

ขอให้เจ้าตัวเล็กโตเร็วๆ เรียนเก่งๆ และรักแม่มากๆ

Credit : By http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=is-sa-ra&month=09-2009&date=22&group=5&gblog=8

หลายคนมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการติดตั้งระบบไฟในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง Down lighting หรือที่เรียกกันว่า ดาวน์ไลท์  ว่ามันคืออะไรเป็นยังไงกันแน่

ดาวน์ไลท์

คำว่า  ดาวน์ไลท์  ก็คือลักษณะการติดตั้งดวงไฟด้วย การฝังหลอดไฟฟ้าไว้ในเพดาน โดยมีกล่องครอบหรือเป็นกระบอกยาวยื่นออกมาสำหรับเป็นตัวบังคับทิศทางของแสง ให้ฉายไปยังจุดที่ต้องการ ซึ่งอาจจะบังคับให้แสงส่องตรงจากเพดานลงสู่พื้น หรือให้ลำแสงตกกระทบผนังก่อนลงสู่พื้น ตัวกล่องครอบและกระบอกยาวนั้น ส่วนใหญ่ก็ทำมาจากอลูมิเนียม ส่วนที่เป็นขอบจะมีทั้งสีขาว ดำ ทอง และเงิน สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานที่และการตกแต่ง อีกทั้งยังสามารถบังคับแสงและปริมาณความเข้มของแสงได้อีกด้วย ดาวน์ไลท์ บางแบบมีลักษณะเหมือนกับลูกตา สามารถกลอกกลิ้งไปในทิศทางใดก็ได้

ดาวน์ไลท์

สำหรับหลอดไฟที่จะใช้กับการติดตั้ง ดาวน์ไลท์ นั้นมีหลายประเภท แล้วแต่เจ้าของบ้านจะเลือกใช้ อาทิ หลอดไฟธรรมดาหรือหลอดไฟที่มีไส้ที่มักจะเรียกว่าหลอดเขี้ยว หลอดเกลียว ซึ่งจะให้แสงเป็นสีเหลืองและความร้อนออกมาด้วย ให้บรรยากาศที่อบอุ่นนุ่มนวลด้วยโทนสีอบอุ่น หลอด Daylight เป็นหลอดแก้วสีฟ้าเข้มให้แสงนวลคล้ายแสงจันทร์ หรือจะเป็นหลอดฮาโลเจน ซึ่งจะให้แสงออกมาคล้ายหลอดไฟธรรมดา แต่จะให้โทนสีที่อบอุ่นและนุ่มนวลกว่า ตลอดจนให้ความร้อนออกมาน้อยกว่าหลอดไฟธรรมดา สามารถใช้ร่วมกับ Dimmer เพิ่มหรือลดความจ้าของแสงได้ด้วย

ดาวน์ไลท์

ดาวน์ไลท์

ลักษณะการติดตั้งไฟแบบ ดาวน์ไลท์ นี้มีข้อดีที่เราสามารถบังคับแสงที่ส่องตรงจากเพดาน ให้ความสว่างเฉพาะจุดที่ต้องการ เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของห้องและพรางบางมุมที่เป็นมุมอับให้กลืนหายไปกับความมืด ทำให้บรรยากาศภายในห้อง เกิดความสวยงามที่แตกต่างกันระหว่างกลางวันและกลางคืน อีกทั้งเป็นการนำเอาหลอดไฟที่ธรรมดา มาติดตั้งให้ดูดีสวยงามและลดความจ้าของแสงด้วย

การติดตั้งไฟแบบนี้ไม่เหมาะสมที่จะติดตั้งในห้องที่ทำกิจกรรมที่ต้องใช้แสงสว่างมาก ๆ อาทิ ห้องครัว ห้องทำงาน เป็นต้น การติดตั้งนั้นสามารถใช้ได้ทั้งฝ้าเพดาน ยิปซั่มบอร์ดฉาบเรียบ หรือฝ้าเพดานโครงอะลูมิเนียมรูปตัวที แต่ส่วนมากจะนิยมใช้กับฝ้าเพดานแบบเรียบมากกว่า เพราะจะให้ความสวยงามมากกว่า

ดาวน์ไลท์

ส่วนการเลือกซื้อก็ต้องบอกกันสักนิดว่า  ดาวน์ไลท์  นั้นมีทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์มาจากต่างประเทศและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ก่อนจะตัดสินใจซื้อก็ควรจะตรวจสอบความสามารถในการใช้งานเสียก่อน เป็นต้นว่าแสงที่ส่องออกมานั้นมีความสม่ำเสมอหรือไม่

 

Credit : By http://www.bestroomstyle.com/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B9%8C/

หรือ คลิกที่นี้